Admin_support

Admin_support

ผู้ดูแล

  รัฐเพิ่มเบี้ยผู้สูงอายุ อีกเดือนละ 100 บาท (992 อ่าน)

6 ต.ค. 2560 23:15



เมื่อวันที่ 5 ต.ค.60 ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือสนช. มีมติรับหลักการวาระแรกร่างพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ ตามที่คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอด้วยคะแนนเสียง 206 เสียงไม่เห็นด้วย 1 เสียงและงดออกเสียง 4 เสียง พร้อมตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ เพื่อพิจารณาจำนวน 19 คน มีกรอบการทำงาน 45 วัน

โดยสาระสำคัญเป็นปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุปี 2546 ให้มีความสอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบันมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทย กำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุรัฐบาลจึงมีนโยบายในการดูแลผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย โดยการให้เงินช่วยเหลือเพื่อการยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย ให้ได้รับสวัสดิการที่จำเป็น โดยการนำเงินกองทุนจากภาษีบาป 2% หรือ 4,000 ล้านบาทต่อปี มาเพิ่มเป็นเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เดือนละ 100 บาท เช่นคนที่อายุเกิน 60 ปีจากเดิมได้เบี้ยยังชีพ 600 บาทเพิ่มเป็น 700 บาท คนที่อายุเกิน 70 ปีจากเดิมได้ 700 บาทเพิ่มเป็น 800 บาท โดยยึดจากบัญชีผู้สูงอายุที่ขึ้นทะเบียนเบี้ยยังชีพจำนวน 2.15 ล้านคน โดยจะเป็นผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยและไม่ใช่ข้าราชการหรือได้รับบำเหน็จบำนาญอย่างอื่น

ทั้งนี้ในส่วนภาษีบาป 2% จะถูกนำมาเพิ่มค่าเบี้ยยังชีพจำนวน 2,400 ล้านบาทต่อปี ส่วนที่เหลืออีก 1,600 ล้านบาท จะถูกนำไปใช้เป็นสวัสดิการดูแลผู้สูงอายุ เช่น การซ่อมแซมและสร้างบ้านเรือนผู้สูงอายุ การดูแลผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยติดเตียง การจัดกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ ซึ่งกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จะเป็นผู้ดูแลงบประมาณในส่วน

ขณะที่สมาชิก สนช.ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับหลักการของร่างกฎหมายดังกล่าวพร้อมเสนอแนะในหลายประเด็นเช่นกรณีผู้มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงกองทุนมีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่ส่งเงินควรมีคณะกรรมการเปรียบเทียบปรับเป็นผู้พิจารณาโทษเพื่อให้เกิดความโปร่งใสและควรแยกเบี้ยยังชีพออกจากเงินสงเคราะห์ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยให้ชัดเจนเพื่อไม่ให้การปฏิรูประบบเงินบำนาญเกิดปัญหาในอนาคต

ที่มา : สปริงนิวส์

Shoot it News

Admin

125.25.81.108

Admin_support

Admin_support

ผู้ดูแล

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้